3/6/64

วัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แสดงผลที่จอ LCD

 


ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ปกติ (Normal CO2 Levels)



ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ปกติ
ผลกระทบของ CO2 ต่อผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้

-ระดับกลางแจ้งปกติ: 350 – 450 ppm
-ระดับที่ยอมรับได้: <600 ppm=”” span=””>
-ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความเข้มและกลิ่น: 600 – 1000 ppm
-ตามมาตรฐาน ASHRAE และ OSHA: 1000 ppm
-อาการง่วงนอนทั่วไป: 1000 – 2500 ppm
-คาดว่าจะมีผลต่อสุขภาพที่ไม่คาดคิด: 2500 – 5000 ppm
-ความเข้มข้นสูงสุดที่อนุญาตภายในระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง: 5000 – 10000 ppm
-ความเข้มข้นสูงสุดที่อนุญาตภายในระยะเวลาการทำงาน 15 นาที: 30000 ppm


**ระดับข้างต้นค่อนข้างปกติและระดับสูงสุดอาจเป็นครั้งคราวเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว โดยทั่วไปแล้วอัตราการถ่ายเทอากาศควรให้ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 1000 ppm เพื่อสร้างเงื่อนไขคุณภาพอากาศภายในที่ยอมรับได้สำหรับบุคคลส่วนใหญ่

ระดับ CO2 ที่รุนแรงและเป็นอันตราย
เพิ่มอัตราการมึนเมาการหายใจและชีพจรเล็กน้อยอาการคลื่นไส้: 30000 – 40000 ppm
อาการปวดศีรษะบวกและอาการสายตาผิดปกติ: 50000 ppm
หมดสติเสียชีวิต: 100000 ppm

หน่วยวัด ppm ค่ามลพิษทางอากาศ คืออะไร


ถ้าพูดถึงเรื่องหน่วยวัด ppm หลายท่านที่มีความรู้อยู่แล้วอาจตอบได้เลยว่าคืออะไรและมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไร แต่หลายท่านอาจไม่แน่ใจในคำตอบ ในที่นี้จะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

Part Per Million (ppm) หมายถึง หนึ่งส่วนในล้านส่วน(1 ใน 1,000,000) หน่วยวัด PPM ที่เรามักจะพบเจอส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมในงานอุตสาหกรรมหรือตามหน่วยงานต่างๆ เช่น การวัดค่ามลพิษทางอากาศ หมายถึงส่วนของปริมาณก๊าซพิษในปริมาณของอากาศล้านส่วน หรือปริมาณของตัวถูกละลายในสารละลายล้านส่วน นั่นเอง


สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOC) คืออะไร ?


สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOC) คือ กลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยเป็นไอได้ง่าย กระจายตัวไปในอากาศได้ในอุณหภูมิและความดันปกติ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOC) มักจะเป็นสารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เช่น น้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ สีทาบ้าน น้ำยาย้อมสีผมและดัดผม สารจำกัดศัตรูพืช หรือแม้แต่ ควันบุหรี่

ค่ามาตรฐานของ TVOC ต้องมีค่าต่ำกว่า 1 มก./ลบม. จึงจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

กรณีศึกษาคือให้อาสาสมัครที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งสัมผัสกับสาร VOC ที่ 02.5 มก/ลบม. และ 25 มก/ลบม. ซึ่งคนที่ได้รับสาร 02.5 มก. แทบจะไม่มีอาการผิดปกติ ส่วนคนที่ได้รับสาร 25 มก. จะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ


อุปกรณ์ที่ใช้ในโปรเจค



ขั้นตอนการทำโปรเจค


1. การใช้งานจอ LCD 1602 กับ Arduino Keyestudio PLUS


โดยศึกษา ขั้นตอนการทำงาน จากลิงค์บทความ ด้านล่าง


2. การใช้งาน เซ็นเซอร์ วัดคาร์บอนไดออกไซด์ กับ Arduino


โดยศึกษา ขั้นตอนการทำงาน จากลิงค์บทความ ด้านล่าง



3. อัพโหลดโค้ด โปรเจควัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


เปิดโปรแกรม Arduino IDE เขียนโปรแกรม หรือ Sketch ตามโค้ดด้านล่างนี้




#include <CCS811.h>
#include <Wire.h>
#include <LiquidCrystal_I2C.h>

LiquidCrystal_I2C lcd(0x27, 16, 2);

/*
   IIC address default 0x5A, the address becomes 0x5B if the ADDR_SEL is soldered.
*/
//CCS811 sensor(&Wire, /*IIC_ADDRESS=*/0x5A);
CCS811 sensor;

void setup(void)
{
  Serial.begin(115200);
  lcd.begin();
  lcd.backlight();
  /*Wait for the chip to be initialized completely, and then exit*/
  while (sensor.begin() != 0) {
    Serial.println("failed to init chip, please check if the chip connection is fine");
    delay(1000);


  }

  sensor.setMeasCycle(sensor.eCycle_250ms);
}
void loop() {
  delay(1000);

  if (sensor.checkDataReady() == true) {
    Serial.print("CO2: ");
    Serial.print(sensor.getCO2PPM());
    lcd.setCursor(1, 0);
    lcd.print("CO2: " + String(sensor.getCO2PPM()) + " ppm       ");
    Serial.print("ppm, TVOC: ");
    Serial.print(sensor.getTVOCPPB());
    Serial.println("ppb");
    lcd.setCursor(0, 1);
    lcd.print("TVOC: " + String(sensor.getTVOCPPB()) + " ppb       ");

  } else {
    Serial.println("Data is not ready!");
    lcd.setCursor(0, 0);
    lcd.print("Data is not ready!");
  }
  /*!
     @brief Set baseline
     @param get from getBaseline.ino
  */
  sensor.writeBaseLine(0x847B);
  //delay cannot be less than measurement cycle
  //delay(1000);
}



4. ผลลัพธ์การทำงาน


หาแหล่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่นการหายใจออกไปที่เซ็นเซอร์ หรือ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย TVOC ข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ที่จอ LCD ตามคลิปด้านล่าง...




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น